ครั้งแรกในไทย “ข้าวหมากไทย” ก้าวสู่เวทีโลก! โครงการ Thai Power Probiotics กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกาศศักดา Soft Power อาหารหมักดองไทย ยกระดับภูมิปัญญาชุมชนสู่สุขภาพโลกที่ยั่งยืน

ครั้งแรกในไทย “ข้าวหมากไทย” ก้าวสู่เวทีโลก! โครงการ Thai Power Probiotics กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกาศศักดา Soft Power อาหารหมักดองไทย ยกระดับภูมิปัญญาชุมชนสู่สุขภาพโลกที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ – กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันอาหาร ทีเอ็มบีธนชาตหรือ ทีทีบี (บัตรเครดิต ttb) และแพลตฟอร์มชิมไทยเดินหน้ายกระดับอาหารหมักดองจากวัตถุดิบไทยชู “ข้าวหมาก” ให้เป็น Soft Power ด้านอาหารเชิงสุขภาพ ผ่านโครงการ Thai Power Probiotics เพื่อผลักดันมรดกภูมิปัญญาไทยสู่เวทีโลก พร้อมเปิดตัวแคมเปญ เส้นทางท่องเที่ยว Flavor of Thai Food: Health & Wellness รสไทยสู่สุขภาพที่ยั่งยืนที่ผสานอาหาร พื้นบ้านกับมิติการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ในยุคที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและการบริโภคอย่างยั่งยืน โครงการ Thai Power Probiotics ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์กระแสดังกล่าวโดยมุ่งเน้นการส่งเสริม “อาหารหมักดองไทย” ซึ่งมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกตามธรรมชาติโดยเฉพาะ‘ข้าวหมาก’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญา การหมักดั้งเดิมของไทยที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อระบบย่อยอาหาและสุขภาพลำไส้และเริ่มเป็นที่สนใจในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น

สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “เรากำลังพูดถึงอาหารที่ไม่ใช่แค่อร่อย แต่มีชีวิต — ข้าวหมากไทยคือหนึ่งในตัวแทนของ Soft Power ที่สำคัญ เพราะมันสะท้อนทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของคนไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งวันนี้ เราไม่ได้เพียงหยิบ ‘ข้าวหมาก’ ขึ้นมาให้ทุกคนมองเห็นคุณค่า แต่เรากำลัง ‘ยกระดับ’ ให้เทียบเคียงกับกิมจิของเกาหลี หรือโยเกิร์ตจากฝั่งตะวันตก โดยใช้คุณค่าของโพรไบโอติกไทยที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง จุดเด่นของข้าวหมากไทยคือมี โปรไบโอติกส์ตามธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องการย่อยอาหารและลำไส้เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายฉบับจากทั้งในและต่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่า ‘สุขภาพลำไส้’ มีความสัมพันธ์กับ ‘สุขภาพจิต’ หรือ Mental Health ได้อีกด้วยเราจึงเชื่อว่า ‘ข้าวหมากไทย’ สามารถก้าวไปได้ไกลกว่าที่เคย — ในฐานะ Functional Food ที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมและศักยภาพทางสุขภาพที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้คนยุคใหม่”

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อผลักดันวัตถุดิบไทยอย่าง ‘ข้าวหมาก’ และอาหารหมักดองอื่น ๆ จากชุมชน ให้สามารถพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลกได้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังมองหาอาหารที่ดีต่อกาย ดีต่อใจ และเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่ลึกซึ้ง นี่แหละคือ Soft Power ที่แท้จริงของไทย”

อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “Flavor of Thai Food: Health & Wellness คือการต่อยอดจากโครงการ Thai Power Probiotics โดยเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวกับอาหารหมักดองและสุขภาพ เช่น เส้นทาง ‘Ayutthaya Healthy Feast’ ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชุมชน เรียนรู้การหมักข้าวหมาก และลิ้มรสเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพจากรากวัฒนธรรมไทยพร้อมโปรโมชั่นพิเศษในทุกเส้นทาง การส่งเสริมอาหารไทยในฐานะทางเลือกสุขภาพ โดยเฉพาะ ‘ข้าวหมาก’ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้และระบบย่อยอาหาร เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างจุดขายใหม่ให้กับการท่องเที่ยวไทยในระดับนานาชาติ โดยการผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์นี้ ทำให้เกิด ‘Grand Moment’ หรือช่วงเวลาพิเศษ ที่นักท่องเที่ยวจะจดจำ ไม่ใช่แค่ภาพสวยหรือรสชาติแปลกใหม่ แต่คือความประทับใจจากวัฒนธรรมที่มีชีวิต”

ครั้งแรกในประเทศไทย “Thai Power Probiotics” กับยกระดับ ‘ข้าวหมากไทย’ จากภูมิปัญญาชุมชน สู่ Soft Power สู่ขุมพลังสุขภาพระดับโลกด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกธรรมชาติที่ดีต่อทั้งลำไส้และสุขภาพจิตในครั้งนี้ “ข้าวหมากไทย” ในฐานะตัวแทนโพรไบโอติกจากวัตถุดิบไทยกำลังกลายเป็นอาหารสุขภาพที่น่าจับตามองพร้อมต่อยอดสู่เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม-สุขภาพ สร้าง Grand Moment ใหม่ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างยั่งยืน