“ปลัดณัฐพล” ปักหมุดนครพนม สั่งการ “ดีพร้อม” “ให้ทักษะ” ดึงอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น สร้างรายได้ ต่อยอดอาชีพให้ชุมชน หวังเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ

“ปลัดณัฐพล” ปักหมุดนครพนม สั่งการ “ดีพร้อม” “ให้ทักษะ” ดึงอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น สร้างรายได้ ต่อยอดอาชีพให้ชุมชน หวังเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ

“ปลัดณัฐพล” ปักหมุดนครพนม สั่งการ “ดีพร้อม” “ให้ทักษะ” ดึงอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น สร้างรายได้ ต่อยอดอาชีพให้ชุมชน หวังเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ


ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การยกระดับประเทศไทยให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง และเกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงจำเป็นต้องวางรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง สอดรับกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่มุ่งใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ ซึ่งการขับเคลื่อนนี้ไม่เพียงมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างพลังแห่งสมดุลครอบคลุมทั้ง 4 มิติ สำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ คือ การกระจายรายได้สู่ชุมชน ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นการกระจายแหล่งอุตสาหกรรมในท้องถิ่นให้ครอบคลุมทั่วประเทศควบคู่กับการสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผลักดันการผลิตสินค้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน ยกระดับสินค้าเกษตร ส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง อันจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างงานในพื้นที่ กระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ลดความเหลือมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มองเห็นถึงหัวใจสำคัญของเป้าหมายนี้และมีความมุ่งเน้นในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทาง ซึ่งสอดรับกับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวกโปร่งใส ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนเคียงคู่กับชุมชนและสามารถปรับตัวให้สอดรับกับบริบทใหม่ของโลกได้อย่างแข็งแรง ด้วยการนำกลไกของซอฟต์พาวเวอร์มาเป็นอีกหนึ่งจิกซอว์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยบนพื้นฐานของทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินงานผ่านการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM Community ที่นี่มีแต่ให้ : ให้ทักษะเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน นครพนม” หลักสูตร “แซ่บหลายอีสานเฮา ซอฟต์พาวเวอร์ อาหารถิ่นอาหารไทย (สร้างสรรค์อาหารพื้นบ้าน)” ซึ่งเลือกปักหมุดในพื้นที่จังหวัดนครพนมในการให้ทักษะที่ตรงจุดและใช้ได้จริง สร้างอาชีพได้จริง และต่อยอดเป็นธุรกิจได้จริง โดยเฉพาะในมิติของ “ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร” ที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นได้อย่างงดงาม เกิดการกระจายสู่ชุมชน ยกระดับศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน


นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้น ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ ได้แก่

(1) ให้ทักษะใหม่ : ผ่านการอบรมเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ พัฒนาเป็นอาชีพและต่อยอดสู่ธุรกิจ

(2) ให้เครื่องมือทันสมัย : เสริมศักยภาพด้วยเครื่องมือที่จะช่วยในการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้า

(3) ให้โอกาสโตไกล : เข้าถึงตลาด ช่องทางจัดจำหน่าย และการเข้าถึงแหล่งทุน และ

(4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน : สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน

กิจกรรมดังกล่าว จะมุ่งเน้นการ “ให้ทักษะ” ภายใต้หลักสูตร “หลักสูตรแซ่บหลายอีสานเฮา ซอฟต์พาวเวอร์ อาหารถิ่นอาหารไทย (สร้างสรรค์อาหารพื้นบ้าน)” แก่ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 450 คน จากพื้นที่ตำบลบ้านค้อ 20 หมู่บ้าน ตำบลท่าค้อ 14 หมู่บ้าน และตำบลรามราช 17 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการกระจายโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้และทักษะ เพื่อสร้างเชฟอาหารไทยมืออาชีพทั่วประเทศผ่านการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงด้านการสร้างสรรค์อาหารพื้นถิ่นให้มีความร่วมสมัย เพิ่มคุณค่า และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเศรษฐกิจของชุมชนด้วยแนวคิดซอฟต์พาวเวอร์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นของ จ.นครพนมอย่างชัดเจน ประกอบด้วย การทำน้ำพริกสมุนไพรปลาน้ำโขง การทำข้าวเหนียวมูน 3 สีหน้าสังขยา การทำแหนมหมูใบตองโบราณ การทำลูกชุบ การทำเยลลี่หนึบ และเค้กกล้วยหอมนึ่งและน้ำสมุนไพร โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะเชิงปฏิบัติในการสร้างสรรค์เมนูอาหารจากวัตถุดิบพื้นถิ่นให้มีความน่าสนใจ ทันสมัย และสามารถเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น อันเป็นการปลุกศักยภาพทางเศรษฐกิจที่แฝงอยู่ในมรดกและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นของชุมชนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และสามารถนำไปต่อยอดอาชีพเพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน อธิบดีณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย