“พาณิชย์” ใช้ ตลาดนำการผลิต หนุน “กล้วยหอมเขียว” สู่ตลาดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชี้โอกาสทองในกรอบ JTEPA

“พาณิชย์” ใช้ ตลาดนำการผลิต หนุน “กล้วยหอมเขียว” สู่ตลาดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชี้โอกาสทองในกรอบ JTEPA

“พาณิชย์” ใช้ ตลาดนำการผลิต หนุน “กล้วยหอมเขียว” สู่ตลาดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชี้โอกาสทองในกรอบ JTEPA


รมช.สุชาติ เดินหน้า ตลาดนำการผลิต นำร่องปลูกกล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) ส่งออกญี่ปุ่น โดยกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ช่วยเพิ่มรายได้เกษตรกรต่อไร่สูงขึ้น 4–14% พร้อมได้รับความเชื่อมั่นจากผู้นำเข้าญี่ปุ่นที่ต้องการกล้วยหอมไทยคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โควตากรอบความตกลง JTEPA เตรียมต่อยอดขยายพื้นที่ปลูกกล้วยหอมเขียวสู่แปลงใหญ่ในจังหวัดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน

วันที่ 18 กรกฎาคม 2568 จังหวัดนนทบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ในการสนับสนุนเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชตามความต้องการของตลาด โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในจึงได้มีการจัดทำลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง บริษัท พีแอนด์เอฟ เทคโน จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น กับ บริษัท แปลงใหญ่กล้วยหอมทองสุขไพบูลย์ จำกัด เพื่อส่งออกกล้วยหอมทองจากไทยไปยังตลาดญี่ปุ่น โดยใช้โควตาส่งกล้วยหอมภายใต้กรอบความตกลง JTEPA ปริมาณ 8,000 ตัน/ปี ปัจจุบันมีการส่งออก กล้วยหอมทอง
เพียงปริมาณ 2,000 ตัน ซึ่งการทำความตกลงในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มปริมาณ ผลผลิตกล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) เพื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ตันมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการรวมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพกล้วยหอมเพื่อการส่งออกตามมาตรฐาน GAP และ GMP ซึ่งมีสมาชิกกว่า 100 ราย“


นายสุชาติ กล่าวต่อว่า “ จากโควตาภายใต้ความตกลงดังกล่าว ไทยสามารถใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกกล้วยโดยไม่เสียภาษีนำเข้า
ได้อีกจำนวนมาก กรมการค้าภายในจึงเข้ามาต่อยอดโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) ที่มีความได้เปรียบด้านความทนทานต่อโรคและการขนส่ง ผลผลิตต่อไร่สูง และเก็บรักษาได้นาน
โดยกรมการค้าภายใน ได้สนับสนุนกล้วยหอมเขียวครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษาเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ช่วยเกษตรกรดูแลหลังเก็บเกี่ยว คัดคุณภาพ และเลือกบรรจุภัณฑ์เหมาะสมเพื่อการส่งออก พร้อมสนับสนุนพันธุ์กล้วยหอมเขียวต้นแบบกว่า 128,000 ต้น ครอบคลุมพื้นที่ 400 ไร่ ตอบโจทย์ตลาดญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงตลาดญี่ปุ่นผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เสริมสร้างโอกาสส่งออกกล้วยหอมเขียวไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น

นายสุชาติ กล่าวย้ำว่า “กิจกรรมในวันนี้โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึงไร่ละ 18,000 บาท หรือเพิ่มขึ้นรวมทั้งแปลง 2–7.2 ล้านบาท คิดเป็น 4%–14% โดยการปลูกกล้วยหอมเขียวเพื่อส่งออกประเทศญี่ปุ่น


“กล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) มีผลผลิตต่อไร่สูง ส่งออกได้จริงในกรอบ JTEPA และมีตลาดญี่ปุ่นรองรับต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์พร้อมผลักดันให้เป็นหนึ่งในสินค้าดาวรุ่งด้านส่งออกของไทย ร่วมกับกล้วยหอมทองที่มีศักยภาพสูง และเรามีแผนขยายผลสำเร็จจากแปลงใหญ่กล้วยหอมทองสุขไพบูลย์ในเสิงสางสู่กลุ่มแปลงใหญ่ในจังหวัดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกกล้วยหอมเขียวและกล้วยหอมทอง ด้วยโมเดลการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงตลาดที่แข็งแรง สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรไทย ซึ่งหากปริมาณการส่งออกกล้วยหอมของเกษตรกรใกล้โควตา ผมจะดำเนินการเจรจาเพื่อขยายโควตาในการส่งออกกล้วยหอมไปยังญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าศักยภาพของเกษตรกรไทยสามารถปลูกผลผลิตเพื่อการส่งออกแบบนี้ได้อีกเยอะ” นายสุชาติกล่าว