ดีพร้อม เดินเกมพลิกโฉมเอสเอ็มอี ด้วยกลยุทธ์ “Partnership Coaching” ดึง 4 กูรูธุรกิจดันสินค้าท็อปพรีเมียมผุดไอเดียต่อยอดอัตลักษณ์ เสิร์ฟดีมานด์สู่ตลาดโลก

ดีพร้อม เดินเกมพลิกโฉมเอสเอ็มอี ด้วยกลยุทธ์ “Partnership Coaching” ดึง 4 กูรูธุรกิจดันสินค้าท็อปพรีเมียมผุดไอเดียต่อยอดอัตลักษณ์ เสิร์ฟดีมานด์สู่ตลาดโลก

ดีพร้อม เดินเกมพลิกโฉมเอสเอ็มอี ด้วยกลยุทธ์ “Partnership Coaching” ดึง 4 กูรูธุรกิจดันสินค้าท็อปพรีเมียมผุดไอเดียต่อยอดอัตลักษณ์ เสิร์ฟดีมานด์สู่ตลาดโลก

 

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เดินหน้าพลิกโฉมโมเดลธุรกิจเอสเอ็มอี ต่อยอดผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ สู่การเป็น “ผลิตภัณฑ์ไทยชั้นเลิศ” (Top Premium Product) ชูกลยุทธ์ “Partnership Coaching” ดึงภาคเอกชน ร่วม ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงเพื่อพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ นำร่อง โชว์เคส 6 แหล่งผลิตผลิตภัณฑ์เฟสแรก จาก 12 อัศจรรย์แหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ไทยชั้นเลิศ มาต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง มีอัตลักษณ์ของชุมชนตนเองที่มีความโดดเด่น มีคุณค่า มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมีเป้าหมายมุ่งสู่การแข่งขันเต็มศักยภาพและเติบโตในระดับสากล คาดว่าผู้ประกอบการจะมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อราย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากอัตราการเติบโตของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตร้อยละ 10 จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจชะลอตัว การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเกิดโรคอุบัติใหม่ ตามนโยบาย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ได้สั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบาย “MIND” ใช้หัวและใจ ปฏิรูปกระทรวงปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ภายใต้นโยบายดีพร้อมโต โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน จึงเร่งดำเนินโครงการ “ทดสอบตลาด (Market Test) ผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน DIPROM ไทยเลิศ 12 อัศจรรย์แหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์ไทยชั้นเลิศ” เพื่อเปิดโอกาสและช่องทางใหม่ให้กลุ่มผู้ประกอบการ
12 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้ทดสอบตลาดผ่านช่องทางการขายในตลาดทุกรูปแบบ โดยการขับเคลื่อนผ่านกลยุทธ์ “Partnership Coaching” มี 4 กูรูธุรกิจ ร่วมให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ได้แก่ คุณสุพิชชา กาญจนวิสิษฐผล ทายาทผลิตภัณฑ์ซอสหอยนางรมตราเเม่ครัว, คุณกรธิดา ธนะกมลาประดิษฐ์ แบรนด์น้ำจิ้มสุกี้ซันซอส, คุณต่อจันทร์ แคทริน บุณยสิงห์ (เชฟเช้า) เจ้าของคาเฟ่ ‘Bite Me Softly’ และ คุณสุปรีดา โสตะวงศ์ (นิค) เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าแนวสตรีทแฟชั่น ‘Auntys Haus’  ซึ่งเฟสแรกของการดำเนินการ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์พรีเมียม จาก 6 ชุมชนนำร่อง ประกอบด้วย

  • ชุมชนศรีพราน จ.อ่างทอง ผลิตภัณฑ์อินโตฟาร์ม แปรรูปผลิตภัณฑ์จากเมล่อนสด ให้สามารถกลายเป็นของฝากติดไม้ติดมือนักท่องเที่ยว เช่น แยมเมล่อน ไอศกรีมเจลลาโต้เมล่อน น้ำสลัดเมล่อน ช็อคโกแลตเมล่อน และขนมเปี๊ยะไส้เมล่อน
  • ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย (จ.สุโขทัย) ชุบชีวิต “ขนมกระแดกงา”ขนมโบราณของดี อ.สวรรคโลก
    ให้กลายเป็นขนมรูปแบบใหม่ ยืดอายุผลิตภัณฑ์โดยไม่ใส่วัตถุกันเสีย และการต่อยอดนำเครื่องสังคโลกมาปรับโฉมใหม่ให้กลายเป็น “ชุดดริปกาแฟสังคโลก” งานคราฟท์สมัยใหม่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการชงกาแฟ
  • ชุมชนบ้านแหลม จ.สุพรรณบุรี พัฒนาเครื่องจักรสานจากผักตบชวามาเป็น ของตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ธูปหอมสู่ “กำยานสายมู” ที่สามารถเป็นของตกแต่งบ้าน และ “ชาใบเตยหอม” ที่ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี
  • ชุมชนบ้านตม จ.ชลบุรี พัฒนาเครื่องหอมอโรม่า ถุงหอม เทียนหอม เพื่อนำไปใช้ในธุรกิจสปา
    ผลิตภัฒฑ์จากดอกไม้ทานได้ อาทิ น้ำสลัดดอกไม้ชาดอกเฟื่องฟ้า “น้ำฟ้าอำไพ เรดดี้” และ “สาโทฟ้าอำไพ” ที่แรกและที่เดียว ที่นำดอกเฟื่องฟ้ามาหมักรวมกับผลไม้รสเปรี้ยวของไทย
  • ชุมชนบ้านเดื่อ จ.หนองคาย พัฒนาไอเดียนำมะเดื่อมาแปรรูปเป็น “คราฟเบียร์มะเดื่อ” เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวหรือกลุ่มชาวต่างชาติ นอกจากนี้ยังคิดค้นสูตร “ซอสหวานมะเดื่อ” และ “ฟรุตเค้กมะเดื่อ” เพื่อเป็นของฝากได้อีกด้วย
  • ชุมชนบ้านวอแก้ว จ.ลำปาง เป็นกลุ่มชุมชนที่มีเกษตรกรเลี้ยงโคนมจำนวนมาก จึงได้ไอเดียในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนม ให้เป็นผลิตภัณฑ์ของฝาก เช่น พุดดิ้งนมสดคาราเมล ครีมชีส และกรีก
    โยเกิร์ต

นายใบน้อย กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าว มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายกระจายรายได้ พัฒนา ประยุกต์ ต่อยอด เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานในระดับสากล ต่อยอดอดีต และปรับปัจจุบัน ให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ให้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน โดยผู้ประกอบการจะได้รับการติดอาวุธทางธุรกิจ 3 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีผลประกอบการในระดับดี ผลิตภัณฑ์อยู่ในความต้องการของตลาด  และผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นและแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อส่งผลิตภัณฑ์ออกไปแข่งขันในตลาดโลกหรือไปค้าขายในต่างประเทศได้ เมื่อพัฒนาไปถึงระดับนั้นแล้วจะมีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการจะมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อราย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

นายใบน้อย กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้ กิจกรรมทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน DIPROM ไทยเลิศ 12 อัศจรรย์แหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์ไทยชั้นเลิศ จัดขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม 2566 ณ ลาน EDEN ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์