ประจำปี 2567 ในมิติต่าง ๆ ของ ดีป้า พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศปี 2567 – 2568 ระบุการดำเนินงานทั้งหมดต้องสอดคล้องไปกับนโยบายของรัฐบาลและการดำเนินงานของกระทรวง

ประจำปี 2567 ในมิติต่าง ๆ ของ ดีป้า พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศปี 2567 – 2568 ระบุการดำเนินงานทั้งหมดต้องสอดคล้องไปกับนโยบายของรัฐบาลและการดำเนินงานของกระทรวง

รมว.ดีอี เยือน ดีป้า เพื่อติดตามภารกิจและแผนการดำเนินงาน
พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลปี 2567 – 2568

13 ธันวาคม 2566, กรุงเทพมหานคร – รมว.ดีอี พร้อมคณะร่วมติดตามภารกิจและรับฟังแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2567 ในมิติต่าง ๆ ของ ดีป้า พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศปี 2567 – 2568 ระบุการดำเนินงานทั้งหมดต้องสอดคล้องไปกับนโยบายของรัฐบาลและการดำเนินงานของกระทรวง

 

 


นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) พร้อมด้วย
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวง และคณะเข้าตรวจเยี่ยมและรับฟังแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2567 ของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ คณะผู้บริหารและพนักงานร่วมให้การต้อนรับ ณ อาคารดีป้า ลาดพร้าว


จากนั้น รมว.ดีอี ได้ร่วมรับฟังการนำเสนอพันธกิจ รวมถึงแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2567 จากผู้แทนพนักงานรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการดำเนินงานด้าน AI & Cloud ความคืบหน้า Global Digital Talent Visa โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) แนวทางการดำเนินโครงการ E-SPORTS พัฒนาทักษะ ยกระดับกำลังคนสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย และบัญชีบริการดิจิทัล

​ภายหลังรับฟังการนำเสนอแผนการดำเนินงาน รมว.ดีอี ได้สั่งการให้ ดีป้า ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
โดยให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนการดำเนินงานของกระทรวง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ทั้งเกม แอนิเมชัน คาแรกเตอร์ รวมถึงอีสปอร์ต ซึ่งขอให้มีความเชื่อมโยงและส่งเสริมยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นอกจากนี้ยังขอให้เร่งต่อยอดโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ที่เริ่มดำเนินการแล้วและได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องเกษตรกรและชุมชน ในส่วนของ Global Digital Talent Visa ที่บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอรายละเอียดเพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาก่อนเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป ขณะเดียวกันยังได้มอบหมายให้ ดีป้า ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลของประเทศ โดยเฉพาะด้าน Coding, AI และ IoT

นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า แนวทางการส่งเสริมดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างดิจิทัลสตาร์ทอัพที่มีความเข้มแข็งและพร้อมก้าวสู่เวทีระดับโลก ขณะที่การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้มุ่งเน้นไปที่เมืองรอง และให้ความสำคัญกับลักษณะของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 Smarts โดยเฉพาะ Smart Environment เพื่อให้เกิดการสร้างพื้นที่สีเขียว ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้เกิดความยั่งยืน สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2568 กระทรวงดีอี ได้มอบหมายให้ ดีป้า กระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมการรับรองมาตรฐานสินค้าและบริการดิจิทัลของประเทศ หรือ dSURE (Digital Sure) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชน รวมถึง Thai QR Plus หรือตัวกลางการชำระค่าสินค้าและบริการในประเทศไทยด้วย QR Code เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

“ดีป้า คือหน่วยงานที่มีความสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยมองว่า เศรษฐกิจดิจิทัลไทยมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากหากดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ โดยแผนการดำเนินงานทั้งหมดที่นำเสนอในวันนี้มีบางโครงการเริ่มดำเนินการแล้วในปีนี้ และจะเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี 2567 ซึ่งทั้งหมดถือเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกระทรวง หรือ The Growth Engine of Thailand” รมว.ดีอี กล่าว

​จากนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล ได้นำคณะเยี่ยมชม Co-working Space บริเวณชั้น 3 ของสำนักงาน ซึ่งเป็นพื้นที่
ส่งเสริมเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพ รวมถึง Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) ศูนย์เรียนรู้ พัฒนา ทดสอบ ทดลองนวัตกรรม 5G สำหรับแอปพลิเคชันและบริการของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ อาทิ 5G Medical Care, 5G Smart Agriculture, 5G Remote Education ฯลฯ เพื่อสร้างโอกาสใหม่แก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และผลักดันประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
###